สาวเจอเพื่อนบ้านก่อผนังบนกำแพงรั้ว โพสต์ถามทำได้จริงไหม เขาไม่ได้เอาเปรียบเราใช่ไหม

LIEKR:

สงสัยเพื่อนบ้านคิดว่าเป็นโครงการคนละครึ่ง

     ปัญหาเพื่อนบ้านก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้น ทุกคนควรเรียนรู้กฎหมายอาคารสิ่งปลูกสร้างเอาไว้ เพื่อป้องกันบ้านและตัวเราเอง จะได้ไม่เสียสิทธิ์โดยไม่รู้ตัว ล่าสุด ก็มีผู้ใช้เฟสบุ๊ก Primprapha Thammasut ได้โพสต์เรื่องราวที่เพื่อนบ้านของตนเองสร้างสิ่งปลูกสร้างบนกำแพงบ้านเลย....  

    โดยเจ้าของบ้านได้โพสต์สอบถามว่า เพื่อนบ้านต่อเติมบ้านใหม่ และสร้างบนรั้วบ้านเลย เราไม่เคยเจอ จึงอยากรู้ว่า มันคือส่วนของเราหรือของเขาคะ ใครรู้ช่วยตอบหน่อยคะ 

    ก่อและสร้างบนรั้งกำแพงแบบนี้ก็ได้หรอ 

    แต่เขาสร้างบนกำแพงครึ่งเดียวนะ แบบนี้ผิดไหม

    นี่อาจเป็นปัญหาใหม่สำหรับเจ้าของโพสต์ แต่เชื่อว่า เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับหลายคนมาก่อนแล้ว และก็มีคนออกมาช่วยไขข้อข้องใจว่า 

    เอาจริงๆ ตามกฎหมายแล้วผิดนะครับ แต่ถ้าไม่เดือนร้อนเรา เพื่อมิตรภาพอันยาวนานของเพื่อนบ้าน (แต่ส่วนมากคนที่ทำแบบนี้คือ การเอาเปรียบเรา ไม่น่าคบหา)

        รั้วบ้านก็มีสิทธิ์กันคนละครึ่งหรือเปล่า สังเกตดูดีๆ เขาก่ออิฐในส่วนครึ่งของเขานะครับไม่ได้ก่อเต็มหลังกำแพง หยวนๆกันไปผมว่าจะสบายใจกว่าครับเพราะต้องเป็นเพื่อนบ้านกันไปอีกนาน 

         ตาม พรบ แล้ว ทำไม่ได้เลยครับ ระยะห่างต้อง 1.5-2 เมตร ถ้าไปร้องเรียนต้องโดนทุบทิ้งแน่ๆ  แต่ก็มีบางคนบอกว่า ทำได้ แต่ก็มีข้อจำกัดนะ ไม่ว่าจะทำได้หรือไม่ได้ นี่ก็เป็นปัญหาเพื่อนบ้านที่เกิดขึ้นเสมอ ทำอะไรก็คิดก่อน หรือไม่ก็ไปปรึกษาสำนักงานของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก่อนก่อสร้างจะดีที่สุด 

(ภาพประกอบเนื้อหาเท่านั้น)


    การต่อเติมครัวหลังบ้าน ตรงนี้ต้องดูที่กฎหมายระยะร่นอาคาร โดยดูว่าส่วนต่อเติมนั้นหากมีหน้าต่างหรือช่องแสงต้องร่นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตรจากแนวเขตที่ดิน ถ้าไม่มีช่องแสงเป็นเพียงผนังทึบสามารถร่นระยะห่างเหลือ 50 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามหากไม่มีช่องแสงเลยจะสามารถสร้างชิดเขตหรือรั้วได้แต่ต้องให้บ้านข้างเคียงเซ็นอนุญาตก่อน 

    ทั้งนี้บล็อกแก้วก็จัดเป็นช่องแสงด้วยต้องร่นระยะห่าง 2 เมตร ซึ่งหากไม่เป็นไปตามกฎหมายก็สามารถร้องขอให้เทศบาลมาตรวจสอบและสั่งให้รื้อได้ ทั้งนี้หากจะอนุญาตให้เพื่อนบ้านต่อเติมมาชนรั้วบ้านเรา เราต้องดูว่าเมื่อต่อเติมเสร็จแล้วจะเกิดข้อเสียอะไรบ้าง เช่น น้ำฝนจากหลังคาจะหล่นมาที่บ้านเราหรือไม่หรือส่วนต่อเติมจะทำให้รั้วเดิมเกิดการชำรุดเสียหายหรือไม่ เป็นต้น

ที่มา : Primprapha Thammasut , baania

บทความที่คุณอาจสนใจ