"งูกัดใช้ปากดูดพิษ" ได้ไหม? สิ่งที่ควรทำคือนั่งนิ่งๆ ขยับให้น้อยที่สุด ไม่ควรรขันชะเนาะ!

LIEKR:

อะไรกันงูกัดแต่ทำไมให้นั่งนิ่งๆ?

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ 

    การดูดพิษงูด้วยปาก เหมือนในภาพยนตร์หนังรักที่เขาทำกันเป็นจำวนมาก! ทำเอาหลายคนคิดว่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และจดจำเอาไว้เพื่อนำไปทำเมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้ แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างที่พระเอกนางเอกในละครทำกันหรอกนะ !

    วันนี้เราจะมาถกเถียงกันเรื่องควรปฐมพยาบาลอย่างไร เมื่อโดนงูกัด? ใช้ปากดูดพิษได้จริงหรือ?

    สื่อต่างประเทศรายงานว่า แน่นอนว่า "การดูดพิษงูด้วยปากนั้น" ไม่ควรทำอย่างยิ่ง และการกระทำของพระเอกหรือนางเอกในภาพยนตร์ก็เป็นวิธีที่ผิดมาก เพราะการกระทำเช่นนั้นอาจเสี่ยงที่จะทำให้คนที่มาช่วยเสียชีวิตเพราะพิษงูได้ อีกอย่างคือการกรีดแผลที่โดนงูกัด ออกหรือการประคบด้วยน้ำแข็ง เหล่านี้ล้วนไม่ใช่วิธีปฐมพยายามที่ถูกต้อง

    อยากจะบอกว่าในละครนั้นหลายอย่างเป็นเพียงฉากที่ทำขึ้นเพื่อให้คนดูอินและฟินกับการดำเนินเรื่อง แม้ว่าหลายครั้งวิธีการจะไม่ถูกต้องเลยก็ตาม ไม่งั้นเขาจะเรียกโอเวอร์ แอ็คชั่นหรอ? 

    และเรื่องการดูดพิษออกด้วยปากก็ทำให้คุณหมอจากหลายแห่งออกมาเปิดเผยเพื่อไม่อยากทำให้คนเข้าใจผิด เพราะเรื่องนี้สำคัญมาก และเสี่ยงต่อชีวิตมาก เนื่องจากฟันของงูแหลมคมและยาวมาก ทำให้รอยแผล ที่โดนกันจะลึกมากเช่นกัน จะเป็นไปไม่ได้เลยที่ใช้ปากดูดพิษงูก็สามารถออกมาได้ แต่ตรงกันข้ามจะทำให้คนดูดถูกพิษงูได้

    วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนงู กั ด นั้นคือ 

    1. ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจเกินเหตุ เนื่องจากผู้ถูกงูกัดบางรายที่ถูกงูพิษกัด อาจได้รับพิษ  เพราะบางครั้งงูพิษกัด  แต่ไม่ปล่อยพิษ ออกมาหรืองูพิษตัวนั้นได้กัดสัตว์อื่นมาก่อนและไม่มีน้ำพิษ เหลือ ในกรณีทีได้รับพิษงูผู้ถูกงูกัดจะไม่เสียชีวิตหรือมีอาการอันตรายร้ายแรงทันที ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที จึงจะเริ่มมีอาการรุนแรง

    2. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด (ถ้ามี) ห้ามทำสิ่งต่อไปนี้ คือกรีดแผลดูดแผลใช้ไฟ/ไฟฟ้าจี้ที่แผล  ประคบน้ำแข็ง สมุนไพรพอกแผล ดื่มสุรา กินยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของแอสไพรินการกระทำเหล่านี้ไม่ช่วยรักษาผู้ถูกงูกัดแต่จะมีผลเสีย เช่น เพิ่มการติดเชื้อเนื้อตายและที่สำคัญทำให้เสียเวลาที่จะนำส่งผู้ถูกงูกัดไปสถานพยาบาล

    3. เคลื่อนไหวร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด การเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ อาจจะทำให้มีการดูดซึมพิษงูจากบริเวณที่ถูกกัดเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดมากขึ้น และถ้าทำได้ให้ใช้ไม้ดามบริเวณที่ถูกงูกัดและใช้ผ้าพันยึด หรือผ้าสะอาดพับทับให้แน่นพอประมาณ คล้ายการปฐมพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหัก หรือข้อมือ ข้อเท้าซ้น

    4. ไม่ควรทำการขันชะเนาะ อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงเกิดเป็นเนื้อตาย 

    5. นำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เร็วที่สุด

    6. ระหว่างการนำส่ง ถ้าผู้ ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จนไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลได้ เพราะงูพิษบางอย่าง เช่น งูเห่างูจงอางงูสามเหลี่ยม และงูทับสมิงคลามีพิษทำให้ร่างกายเป็นอัมพาตทั้งตัว ผู้ถูกงูกัด จะเสียชีวิตจากการหยุดหายใจ

    ข้อสำคัญ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบลักษณะงูที่กัดและกัดบริเวณใด เมื่อไรถ้านำซากงูไปด้วยก็จะดีมาก แต่ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาตามหา และไล่ตีงูเพื่อนำไปด้วย เพราะจะทำให้เสียเวลาในการรักษาโดยไม่จำเป็น จำลักษณะ รูปร่าง สีแบบคราวๆของงูก็พอ แค่นี้ก็สามารถทำให้หมอวินิจฉัยได้ถูกว่าควรรักษาอย่างไร?

     ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว  เคยมีประวัติแพ้ยาหรือสารใดๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยผู้ถูกงูกัดไม่จำเป็นต้องได้รับเซรุ่มแก้พิษงูทุกราย แพทย์จะให้เซรุ่มแก้พิษงูเฉพาะในรายที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น

    ชมคลิป

    

    คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<


ที่มา:today.line,thaihealth

แปลและเรียบเรียงโดย Liekr

บทความที่คุณอาจสนใจ